อุณหภูมิเครื่องคอริ่ง ขณะเจาะรู รูปแรก

นี่คือภาพถ่ายสีอุณหภูมิ(ความร้อน)   ขณะใช้งานเครื่องคอริ่ง
สิ่งนี้จะบอกเราได้ชัดเจนว่า ส่วนไหนของเครื่องคอริ่ง ที่ทำงานหนักที่สุด

ข้อมูลตรงนี้เป็นการทดสอบ จากผู้ผลิต เพื่อดูว่าการทำงานของเครื่องคอริ่งนั้น ปกติไหม
และส่วนต่างๆของเครื่องคอริ่ง มีส่วนใดบ้างที่ควรปรับปรุง
โดยดูจากสีสว่างสุด(อุณหภูมิสูงสุด หรือร้อนมาก) ไปหา สีทึบสุด(อุณหภูมิสูงสุด เย็นมาก)
เพื่อนำไปข้อมูลส่วนตรงนี้ไปพัฒนาเครื่องคอริ่งรุ่นต่อไป

นั้นเป็นส่วนที่ผู้ผลิตจะนำข้อมูลส่วนนี้ไปใช้  แต่ผู้ใช้งานอย่างเรา
ไอ้ภาพสีอุณหภูมิมีประโยชน์อะไรกับเราเมื่อได้เห็นมัน

อย่างแรกมันบอกว่า ส่วนใดที่มีอุณหภูมิสูง ส่วนนั้นจะใช้งานหนักและมีโอกาสสึกหร่อ
หรือเสียไวที่สุดตามลำดับอุณหภูมิจากมากไปน้อย

 

ความร้อน กระบอกคอริ่ง ขณะเจาะพื้น ผนัง

จากในรูปนี้ เป้ากากบาท ชี้ไปที่กระบอกคอริ่ง ที่อุณหภูมิ 28องศา และสีออกเป็นสีม่วง ที่โดยรอบๆบริเวณเป็นสีฟ้า 
บอกได้ว่าโซนนี้อุณหภูมิเย็น ซึ่งควรจะเป็นแบบนั้นเพราะเป็นส่วนที่โดนน้ำขณะเจาะด้วยนั้นเอง

 

 

ความร้อนเครื่องคอริ่ง ขณะใช้งาน เจาะคอริ่ง

พอมาดูที่รูปนี้ เป้ากากบาทเปลี่ยนมาชี้ที่ตรงเครื่องฝั่งแฮนด์ด้านหลังเครื่อง โซนเครื่องคอริ่งจะมีสีส้ม บอกให้รู้ว่า
มีความร้อนแน่นอน และบางจุดออกเป็นสีเหลือง และสีขาว ที่หมายถึงมีจุดที่ความร้อนสูงขึ้นไปอีก
เป้าที่ชี้ มีความร้อนที่ 35องศา ซึ่งถ้าเทียบกับอุณหภูมิอากาศบ้าเรา(ในเดือน เมษายน) ก็ถือว่าปกติ

 

 

จุดที่ เครื่องคอริ่ง มีความร้อนสูงสุด ขณะเจาะพื้น

ทีนี้เมื่อเป้า มาชี้ตรงจุดสีที่ขาวที่สุด พบว่ามีความร้อนสูงที่สุด ได้ค่าที่ 43องศา และส่วนนี้คือ "ชุดเกียร์" ของเครื่องคอริ่งนั่นเอง
ชุดเกียร์เครื่องคอริ่ง ถือเป็นส่วนที่ใช้งานหนักเพราะเป็นเหมือนตัวสร้างแรงเพิ่มขึ้น
จากแรงปั่นจากมอเตอร์(พูดง่ายๆคืออัพแรงบิดจากมอเตอร์ขึ้นอีก)  เพื่อให้มีแรงบิดมากพอหมุนกระบอกหนักๆขณะกดพื้นเจาะลงไปได้

หากเราคิดภาพตามว่าถ้าไม่มีชุดเกียร์ เราให้มอเตอร์ขับตรงเข้ากระบอกคอริ่งเลย
ตอนหมุนเปล่ากระบอกคอริ่งอาจจะหมุน แต่พอเรากดมันลงพื้น
กระบอกคอริ่งจะหยุดกึกทันที และมอเตอร์หยุดนิ่งแต่จะคราง และสั่นเพราะไม่มีแรงพอ
นั่นจึงเป็นสาเหตุที่เครื่องคอริ่งต้องมีชุดเกียร์ และมันเป็นส่วนที่ใช้แรงมากที่สุดเมื่อเครื่องคอริ่งทำงาน

 

เครื่องคอริ่งทีเร็ก และกระบอกคอริ่ง ครบเว็ทพร้อมใช้งาน เจาะถนน เจาะพื้น เจาะผนัง

เมื่อเรารู้แล้วว่าส่วนไหนที่ทำงานหนักสุด จะมีความร้อนสูงสุด ตามลำดับของเครื่องคอริ่ง คือ ชุดเกียร์ > มอเตอร์ > ตัวเครื่อง >  เสา และกระบอกคอริ่ง
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ความเสียหายหรือชำรุดอาจเป็นไปตามกรณีๆไป อย่างเช่น หากกระบอกคอริ่งติด ชุดเฟืองหยุดแต่มอเตอร์จะไหม้เพราะมีไฟฟ้าอาร์คที่แปรงถ่านถ้าเราไม่ปิดสวิชต์
หากเรากดพวงมาลัย อัดหนักตลอด เวลาเจาะ(ถ้ากระบอกไม่ติดก่อน) เฟืองก็จะรูด หรือแตกเสียหายแทน เป็นต้น ดังนั้นข้อมูลรูปสีความร้อนของเครื่องคอริ่ง
จึงเป็นสิ่งยืนยันว่า ส่วนต่างๆของเครื่องคอริ่ง ส่วนที่ทำงานหนัก มีส่วนใดบ้าง และนำข้อมูลตรงนี้ไปใช้อ้างอิงได้

 

#คอริ่งโปร  #เครื่องคอริ่งทีเร็ก T-REX  #กระบอกคอริ่งทีเร็ก T-REX : http://bit.ly/ราคาเครื่องคอริ่ง
Line : http://bit.ly/32jwvib